วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย

เมื่อร้อยปีเศษมาแล้ว มาร์โคนี่ได้ส่งสัญญาณวิทยุ เป็นคลื่นแพร่กระจายออกไปในอากาศได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเครื่องรับวิทยุ ทั้งแบบเอเอ็ม เอฟเอ็ม ใช้กันทั่วโลก ต่อมาก็มีการพัฒนาวิธีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ทำให้มีการรับชมข่าวสารผ่านทางระบบทีวี จนปัจจุบันเกือบทุกบ้านมีวิทยุ โทรทัศน์ กันหมด หลังจากปี ค.ศ. 1990 การประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เริ่มขึ้น มีการจัดการข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้อยู่บนเครื่องลูกข่ายที่เรียกว่า ไคลแอนต์ มีโปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า บราวเซอร์ บราวเซอร์ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรโตคอลมาตรฐาน ที่ชื่อ อชทีทีพี http (Hyper Text Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ  การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกัน การประยุกต์ไฮเปอร์เท็กซ์ได้ขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่า เวิร์ลไวด์เว็บ


เว็บไซต์ที่ให้บริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
ที่มา http://www.youtube.com/

เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้น การใช้งานข้อมูล ข่าวสารเหล่านี้ก็ก้าวเข้าสู่มัลติมีเดีย มีการเก็บข้อมูลรูปภาพ เสียง และวิดิโอ การเก็บข้อมูลเสียงและวิดิโอในยุคแรกยังเป็นเพียงการเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เมื่อเครื่องที่เป็นไคลแอนด์ต้องการใช้ข้อมูล ก็มีการติดต่อมายังเครื่องให้บริการ การโอนย้ายข้อมูลก็เกิดขึ้น โดยวิธีการคัดลอกแฟ้มเหล่านั้นผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้ เมื่อคัดลอกมาได้ครบจึงเริ่มแสดงผล ลักษณะการใช้งานจึงเป็นวิธีการโอนย้ายไฟล์ มิได้เป็นการส่งกระจายแบบเวลาจริง เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น จนสามารถบีบอัดข้อมูลเสียง และ  วิดิโอ ให้มีขนาดเล็กลงได้ การบีบอัดข้อมูลให้เหลือน้อย ทำให้ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายที่มีข้อจำกัดทางด้านปริมาณข้อมูลต่อวินาทีลงไปได้ เพราะหากผู้ใช้ติดต่อเครือข่ายด้วยโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ปริมาณข้อมูลต่อวินาทีที่รับส่งได้ยังอยู่ในกรอบจำกัด เช่น รับส่งได้สูงสุดเพียง 28.8 กิโลบิตต่อวินาที เมื่อข้อมูลเสียงหรือวิดิโอได้รับการบีบอัดลงจึงทำให้การสื่อสารผ่านสายไปบนอินเทอร์เน็ตมีความเป็นไปได้มากขึ้น จนในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงแบบออนไลน์ ที่เป็นที่นิยมแบบอินเทอร์เน็ตคือ ระบบ real audio การส่งวิดิโอบนอินเทอร์เน็ตเสมือนการกระจายสัญญาณทีวีบนเครือข่าย เราเรียกระบบนี้ว่า video live ระบบ real audio และ video live ประกอบด้วยเครื่องให้บริการที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ เครื่องให้บริการนี้รับสัญญาณเสียงโดยตรงจากแหล่งสัญญาณเสียง เช่น สัญญาณจากสถานีวิทยุจริง หรือรับสัญญาณวิดิโอจากสถานีส่ง หลังจากนั้นจะแปลงสัญญาณนั้นให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล พร้อมทำการบีบอัดให้เล็กลง เพื่อส่งไปยังเครื่องผู้ใช้ เครื่องผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรม real audio player ซึ่งประกอบติดตั้งเข้ากับโปรแกรมบราวเซอร์ เมื่อผู้ใช้ติดต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ ก็จะเปิดช่องสื่อสารระหว่างกัน เครื่องบริการที่เป็นเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลให้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเลิกการติดต่อ แต่เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีสภาพแบ่งกันใช้งาน ไม่สามารถกำหนดคุณภาพของการรับส่งโดยตรงได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรับสัญญาณแบบออนไลน์ต่อเนื่อง ดังนั้นทางเครื่องไคลแอนต์ ซึ่งต้องสร้างบัฟเฟอร์ในหน่วยความจำไว้ เพื่อว่าบางขณะข้อมูลที่ส่งมาขาดหาย ข้อมูลในบัฟเฟอร์ยังรองรับการใช้งานได้ชั่วขณะหนึ่ง เพื่อให้สัญญาณต่อเนื่อง โดยปกติหากรับสัญญาณเสียง จะมีการกำหนดช่องสื่อสารที่ต่อเนื่องขนาด 16 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นถ้าช่องสื่อสารจริงมีความจุมากกว่านี้ ก็จะทำให้การรับสัญญาณเสียงที่ต่อเนื่องเหมือนฟังวิทยุได้ ทำนองเดียวกัน หากรับสัญญาณวิดีโอ ช่องสัญญาณจะต้องมีความจุมากกว่า โดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 23-30 กิโลบิตต่อวินาที ถ้าได้ความเร็วสูงกว่านี้ก็จะทำให้ภาพต่อเนื่อง แต่หากได้ความเร็วต่ำกว่านี้ภาพจะขาดเป็นช่วง ๆ เครื่องให้บริการ real audio และ video live ทุกเครื่องจะมีข้อจำกัดจำนวนเครื่องลูกที่ติดต่อมา ทั้งนี้เพราะแถบกว้างของช่องสื่อสารมีจำกัด ผนวกกับขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ก็จำกัด สถานีให้บริการที่พบเห็นกันบนเครือข่ายขณะนี้ยังจำกัดจำนวนอยู่ที่ 60-240 สายสัญญาณ
 ดังนั้นหากมีผู้นิยมใช้บริการกันมาก ข้อจำกัดนี้จะต้องได้รับการพัฒนา แต่เนื่องจากการติดตั้งสถานีบริการทำได้ง่าย จึงเชื่อแน่ว่าจะมีผู้ตั้งสถานีบริการ real audio และ video live กันมาก การตั้งสถานีจะมีอยู่ในโฮมเพ็จ ทุกโฮมเพ็จสามารถใส่ข้อมูลแบบมัลติมีเดียสำหรับเป็นสื่อไว้ใช้ติดต่อกัน ร้านค้าอาจมีสถานีวิทยุสำหรับโฆษณาขายสินค้า มีสถานีส่งวิดีโอเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นสินค้า ปัญหาที่สำคัญคือ ความต้องการใช้เครือข่ายจะมากขึ้นอีกมาก จนทำให้ถนนของข้อมูลข่าวสารไม่สามารถรองรับได้ พัฒนาการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า Information Highway จึงต้องพัฒนาให้มีปริมาณการรับส่งข้อมูลได้มาก เชื่อแน่ว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ระบบวิทยุและทีวีบนเครือข่ายเป็นจริงได้ โครงสร้างการสื่อสารของประเทศหลายโครงการกำลังรองรับอยู่ ข่ายการสื่อสารด้วยแถบกว้างที่สามารถส่งข้อมูลในปริมาณมากคงจะมีให้เห็นในเร็ววันนี้ real audio และ video live เป็นบทพิสูจน์บทเริ่มต้นถึงความเป็นไปได้ในการตั้งสถานีวิทยุ และโทรทัศน์บนเครือข่าย และจะทำให้มีจำนวนสถานีเหล่านี้เป็นหมื่นเป็นแสนสถานีได้ ที่สำคัญคือ ข่าวสารจะเป็นแบบไร้พรมแดน ที่รัฐบาลเองก็ไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจะมีผู้ตั้งสถานีบนเครือข่ายกันมาก 

เขียนโดย : รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
Last update : 04/03/1999
ที่มา :http://www.school.net.th/library/snet1/network/it4.htm
การประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดิทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร
ในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะในแต่ละวันทำงานมากเกินไป การติดตามข้อมูลข่าวสารจากสถานีโทรทัศน์ บางครั้งตรงกับช่วงเวลาทำงานก็ไม่อาจทำให้ติดตามข่าวสารนั้นได้ จึงได้เกิดทางเลือกให้ผู้ดำเนินชีวิตได้มีการติดตามเหตุการณ์ได้เหมือนกับบุคคลทั่วไปในเวลาที่ต้องการ นั้นก็คือ การดูรายการวิทยุโทรทัศน์ย้อนหลังโดยผ่านทางการบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย ซึ่งมีวิธีการเข้าใช้อย่างง่าย


             สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ อีทีวี (ETV) เป็นสถานีโทรทัศน์ของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการการศึกษาของ กศน. และรายการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีคำขวัญประจำสถานีว่า อีทีวี บ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลไทย โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการ ติวเตอร์แชนแนล(ปัจจุบันนี้ชื่อ สติวเดน แชนแนล) เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ภาคโทรทัศน์ระบบไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยใช้เวลาการดำเนินงานโครงการ 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 ด้วยงบประมาณกว่า 6,000 ล้านบาท และจะสามารถออกอากาศได้ในปี พ.ศ. 2555 จากภาคพื้นดินในคลื่นความถี่ วีเอชเอฟ(VHF) หรือ ยูเอชเอฟ(UHF) โดยในระยะแรก โครงการติวเตอร์แชนแนล เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 10.00 - 12.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย พร้อมกับอีทีวี



ที่มา http://www.etvthai.tv/stream/home.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น